1. คะแนนรวมทุกพรรค / 100 = คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน
2. คะแนนแต่ละพรรค / คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน = จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ (จำนวนเต็ม)
3. ถ้าพรรคการเมืองได้ ส.ส. รวมกันไม่ครบ 100 คน ให้เรียงเศษคะแนนของทุกพรรค พรรคที่มีเศษมากที่สุดได้เพิ่ม 1 คน เรียงลำดับจนครบ 100 คน
กล่าวโดยง่าย คือ ได้จำนวน ส.ส. ตามเปอร์เซ็นต์ของพรรคที่ได้
นั่นคือ นำคะแนนรวมทุกพรรคมาหาร 100 ตัวเลขที่ได้นั้น คือจำนวนเสียงที่ต้องได้ ต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน
จากนั้น นำคะแนนจากบัตรเขียวของแต่ละพรรค มาหารด้วยตัวเลขนั้น แต่ละพรรคจะได้ ส.ส. ตามจำนวนเต็ม โดยไม่สนใจหลักทศนิยม
หากมี ส.ส. ที่ได้จากการคำนวณยังไม่ครบ 100 คน ให้นำทศนิยมมาเรียงจากมากไปน้อย จากนั้นเพิ่ม ส.ส. ให้ครบ 100 คน โดยให้พรรคที่มีทศนิยมสูงได้ ส.ส. เพิ่มก่อน เช่น ถ้าขาด ส.ส. ไป 9 คน ให้พรรคที่หลักทศนิยมสูงสุด 9 พรรค ได้ ส.ส. เพิ่มไปอีกพรรคละคน
ตัวอย่างสถานการณ์
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 15,000,000 คน
คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. 1 คน = 15,000,000 / 100 = 150,000 เสียง (หมายความว่าทุก 150,000 เสียงจะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 1 คน)
พรรค A ได้ ส.ส. 43 คน
พรรค B ได้ ส.ส. 27 คน
พรรค C ได้ ส.ส. 19 คน
พรรค D ได้ ส.ส. 6 คน
พรรค E ได้ ส.ส. 1 คน
พรรค F ได้ ส.ส. 1 คน
พรรค G ได้ ส.ส. 0 คน
*หลังจากคำนวณตามสูตรแล้ว ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 97 คน ยังเหลือที่นั่งว่างอีก 3 ที่ ซึ่งจะนำคิดตามข้อ 3 โดยการเรียงเลขทศนิยมของทุกพรรคจากมากไปน้อย
พรรค A xx.7333 ได้ ส.ส. เพิ่ม รวมเป็น 44 คน
พรรค B xx.3333
พรรค C xx.6000 ได้ ส.ส. เพิ่ม รวมเป็น 20 คน
พรรค D xx.6667 ได้ ส.ส. เพิ่ม รวมเป็น 7 คน
พรรค E xx.2000
พรรค F xx.0667
พรรค G xx.4000
พรรคที่ได้คะแนนมากสุดตามลำดับจะได้ ส.ส. เพิ่มพรรคละ 1 คนจนกว่าที่นั่งจะครบ 100 ที่นั่ง
สรุปจำนวน ส.ส.
พรรค A 44 คน
พรรค B 27 คน
พรรค C 20 คน
พรรค D 7 คน
พรรค E 1 คน
พรรค F 1 คน
พรรค G 0 คน
รวม 100 คน